Menu
คะแนน

ร้านอาหารใช้พลังงานมากกว่าอาคารพาณิชย์ขนาดเดียวกันโดยเฉลี่ย เพราะห้องครัวเต็มไปด้วยอุปกรณ์ที่กินพลังงาน เช่น ตู้เย็น อุปกรณ์ไฟฟ้าหลากชนิด เตาแก๊สเชื้อเพลิงต่างๆ การตรวจสอบการใช้พลังงานจึงเป็นวิธีที่ดีในการที่จะรู้ได้ว่าเราใช้พลังงานไปกับสิ่งใดในร้านมากน้อยเท่าไรบ้าง เพื่อจะนำไปสู่วิธีในการลดการใช้พลังงานลง ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายงบประมาณของร้านได้มากขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นวิธีประหยัดพลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ขอเสนอวิธีง่ายๆ ในการประหยัดพลังงานในร้านอาหาร

1. เน้นการประหยัดน้ำและไฟ

1. เน้นการประหยัดน้ำและไฟ

เป็นวิธีพื้นฐานที่สุดที่ทุกคนสามารถทำได้ เช่น ปิดน้ำเมื่อไม่ใช้ ดูแลไม่ให้มีน้ำรั่วซึม และปิดไฟ ถอดปลั๊กอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานบ่อยๆ จำกัดความถี่ในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า (แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้)

2. ติดตั้งเซ็นเซอร์รับแสงเพื่อปิดไฟภายนอกโดยอัตโนมัติ

2. ติดตั้งเซ็นเซอร์รับแสงเพื่อปิดไฟภายนอกโดยอัตโนมัติ

เซ็นเซอร์นี้จะตรวจจับและปรับไฟให้เข้ากับปริมาณแสงที่มีอยู่ ซึ่งเหมาะกับการเปิดในเวลากลางคืนและปิดการใช้งานระหว่างวัน

3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า/ประปาภายในร้าน

3. ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้า/ประปาภายในร้าน

โดยติดต่อผู้ให้บริการสาธารณูปโภคหรือช่าง เพื่อทำการวิเคราะห์ตรวจสอบเชิงลึก เราจะได้หาสาเหตุหากมีการรั่วไหลของพลังงาน และจะได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ตามข้อเสนอแนะ เพราะอุปกรณ์ที่ล้าสมัยนั้นเป็นตัวกินไฟ และยังอาจเป็นอันตราย นำไปสู่ความเสียหายในวงกว้าง การซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่อาจช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าในระยะยาว โดยมองหารุ่นที่ได้การรับรองว่าประหยัดพลังงาน

  • ใช้หลอดไฟ LED ที่ให้แสงสว่างมากกว่าและกินไฟน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ ทั้งยังสามารถรีไซเคิลได้ด้วย
  • คอยล์ร้อนที่อยู่หลังตู้เย็นต้องสะอาดอยู่เสมอ และผนึกกันรั่วของประตูต้องแน่นหนา
  • บำรุงรักษาเตาแก๊ส เตาอบ ให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่มีเขม่าดำเกาะ เพราะจะทำให้ถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี
  • เปลี่ยนไส้กรองอากาศอย่างน้อยทุก 3 เดือน พวกแผ่นกรองอากาศดูดฝุ่นและเศษวัสดุ เครื่องดูดควัน และเครื่องปรับอากาศ

4. สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะเปิดร้านใหม่ ควรวางแผนโครงสร้างที่เน้นการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้นเลย

4. สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังจะเปิดร้านใหม่ ควรวางแผนโครงสร้างที่เน้นการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืนตั้งแต่เริ่มต้นเลย

อย่างเช่นการใส่ฉนวนกันความร้อน การดูทิศทางลมและจัดวางตำแหน่งของห้องครัวหรืออุปกรณ์ เช่น วางตำแหน่งของตู้เย็นในบริเวณที่เย็นที่สุดในห้องครัว รวมไปถึงตำแหน่งของสถานที่นั่งรับประทานอาหารในร้านได้อย่างเหมาะสม ใช้แสงธรรมชาติเข้ามาช่วยในพื้นที่อินดอร์ ในฤดูอากาศดี สามารถเปิดหน้าต่างระบายความร้อนส่วนเกิน หรือในฤดูร้อน ใช้หน้าต่างที่ปิดสนิทเพื่อช่วยให้แอร์ทำงานน้อยลง ขณะเดียวกันก็มีโซนเอาท์ดอร์บรรยากาศดี สำหรับลูกค้าที่อยากใกล้ชิดธรรมชาติ

5. กระบวนการปรุงอาหารเป็นไปอย่างประหยัดพลังงาน

5. กระบวนการปรุงอาหารเป็นไปอย่างประหยัดพลังงาน

ยกตัวอย่างเช่น ปิดหม้อหรือกระทะในระหว่างประกอบอาหาร เพื่อช่วยลดเวลาเดือดของน้ำลง และไม่ปล่อยความร้อนทิ้งออกสู่ในห้องครัว รวมถึงไม่เปิดหม้อบ่อยๆ ขณะประกอบอาหารยังไม่เสร็จ วางแผนทำเมนูประเภทอบตามความจำเป็น เพราะการเตรียมอาหารในเตาอบไฟฟ้าจะใช้พลังงานอย่างมาก

6. ตากแห้งอุปกรณ์ครัวหลังล้างเสร็จด้วยแสงแดดและลมธรรมชาติ

6. ตากแห้งอุปกรณ์ครัวหลังล้างเสร็จด้วยแสงแดดและลมธรรมชาติ

แทนการใช้เครื่องอบแห้ง

7. ขอให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกับการประหยัดพลังงาน

7. ขอให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมกับการประหยัดพลังงาน

เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ โดยการให้ความรู้แก่พวกเขา ฝึกอบรม รวมไปถึงพิจารณาให้รางวัลแก่พนักงานที่ทำผลงานได้ดีตามแนวทางประหยัดพลังงาน

8. ใช้พลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานทางเลือก (alternative energy)

8. ใช้พลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานทางเลือก (alternative energy)

คือพลังงานที่ได้จากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่ฟอสซิลอย่างพวกถ่านหิน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีแต่ใช้แล้วหมดไป และยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก หรือพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) คือพลังงานที่ได้จากแหล่งที่สามารถผลิตหรือก่อกำเนิดพลังงานนั้นขึ้นมาเองได้และยังหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีก ยกตัวอย่างเช่น

             8.1 พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กับไฟส่องสว่างต่างๆ แม้จะเป็นการลงทุนที่สูงแต่คุ้มค่าในระยะยาว ยกตัวอย่างค่าติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ประมาณ 12-16 แผง ขนาด 320 วัตต์ ราคาประมาณ 350,000 บาท แต่สามารถประหยัดค่าไฟได้ราว 3,xxx บาท/เดือน, 36,xxx บาท/ปี และ 9xx,xxx บาท/25 ปี นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 37 ต้น/ปี (ข้อมูลจากบริษัทรับติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ www.extra.solar.com)

              8.2 พลังงานชีวมวล (biomass) ได้จากสารอินทรีย์จากพืชและสัตว์ เช่น เศษไม้ ขยะ มูลสัตว์ แกลบ ชานอ้อย หรือกาบและกะลามะพร้าว มาผ่านกระบวนการแปรรูปด้วยการเผา การหมัก เพื่อผลิตก๊าซทำเป็นเชื้อเพลิง และสร้างลูปหมุนเวียนในร้าน ไปจนถึงการสร้างเตาแก๊สชีวมวลเพื่อใช้สำหรับหุงต้มภายในร้านก็ได้ ถือว่ามีราคาถูกกว่าการใช้งานพลังงานฟอสซิล แต่เหมาะกับร้านอาหารที่ไม่ได้อยู่ในเมือง และมีพื้นที่จัดการมากกว่า

              8.3 พลังงานชีวภาพ (biogas) คล้ายพลังงานชีวมวลแต่ซับซ้อนขึ้นนิดหน่อย เพราะเป็นการนำวัสดุทางชีวภาพมาย่อยสลายด้วยแบคทีเรียในสภาวะไร้ออกซิเจน เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพก่อนนำไปใช้งานโดยตรง โดยวัสดุที่ใช้จะมีความจำเพาะเจาะจงมากกว่ากระบวนการผลิตพลังงานชีวมวล เช่น ขยะอินทรีย์ มูลสัตว์ หรือพืชเชื้อเพลิงประเภทเส้นใยอย่างอ้อย ข้อดีคือให้พลังงานความร้อนสูง และลดขยะในครัวเรือน แต่ข้อเสียคือเทคโนโลยีอุปกรณ์การผลิตที่ได้คุณภาพปัจจุบัน ยังมีต้นทุนค่อนข้างสูง แต่เมื่อใช้ในระยะยาวถือว่าคุ้มค่า

พลังงานเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา ดังนั้นการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและประหยัดพลังงานนั้นไม่เพียงแค่ช่วยลดรายจ่ายของกิจการในระยะยาว ซึ่งถือเป็นประโยชน์ในระดับครัวเรือน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ระดับชาติ และเพื่อความยั่งยืนในระดับโลกได้อีกด้วย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเส้นทางการปรับตัวสู่ความยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ได้ที่

หน้าหลัก
เมนู
สั่งสินค้า
รถเข็น
เมนูอาหาร