กฎ 2 - 4 ชั่วโมง วิธีเก็บอาหารไม่ให้บูดเสียง่าย
อากาศร้อนทำให้อาหารที่เราขายบูดง่าย ถ้าไม่อยากให้อาหารอร่อยๆ ของเราเสียก่อนเวลา ลองใช้ กฎ 2 ชั่วโมง และ 4 ชั่วโมงในการควบคุมการเก็บอาหาร
ผู้ประกอบการร้านอาหารฟังทางนี้ ! เพราะอากาศเริ่มร้อน และชื้นขึ้น นี่จึงอาจเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้อาหารร้านเราบูดง่าย เน่าเร็ว เพราะอุณหภูมิ และความชื้นที่สูงก็เป็นตัวเร่งให้แบคทีเรียในอาหารเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง
ถ้าไม่อยากให้อาหารร้านเราบูด จนส่งผลไปถึงลูกค้า และอาจจะทำให้ความน่าเชื่อถือเสียหายได้ ลองใช้กฎ 2 - ชั่วโมง / 4 - ชั่วโมง ในการควบคุมการเก็บอาหารกันดีกว่า เราไปเรียนรู้พร้อมๆ กันในบทความนี้ !
มาทำความรู้จักกัน กฎ 2 – ชั่วโมง / 4 - ชั่วโมง
โดยปกติแล้ว การป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ เราควรเก็บอาหาร หรือวัตถุดิบไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียสเสมอ แต่หากเป็นอาหารที่ต้องเสิร์ฟร้อนๆ ก็ควรจะอุ่นไว้ให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส ซึ่งถ้าหากเป็นแค่ทฤษฎี เราก็คงสามารถทำได้ แต่ในชีวิตจริง มันยังมีอีกหลายปัจจัยที่อาจจะทำแบบนี้ไม่ได้สะดวก
ดังนั้นเราจึงมี กฎ 2 - ชั่วโมง/4-ชั่วโมง ซึ่งมันคือกฎการจำกัดเวลาที่จะทิ้งอาหารไว้ใน “โซนอุณหภูมิอันตราย” ที่แบคทีเรียจะสามารถเจริญเติบโตได้ อีกทั้งแบคทีเรียยังจะต้องใช้เวลาในการแบ่งตัวจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดอาหารบูดได้ได้ ซึ่งหากเราทิ้งอาหารไว้ที่อุณหภูมิ 5 - 60 เซลเซียสไม่เกินเวลาตามกฎ 2-ชั่วโมง/4-ชั่วโมง อาหารจานนั้นก็ยังสามารถเสิร์ฟได้อย่างปลอดภัย
วิธีการควบคุมคุณภาพอาหารด้วยกฎ 2 - ชั่วโมง
0 - 2 ชั่วโมงแรก : อาหารที่เพิ่งปรุง หรือวัตถุดิบที่เพิ่งออกจากตู้เย็น จะยังสามารถทานได้อย่างปลอดภัยในช่วงระยะเวลานี้ โดยอาหารที่ควรรับประทานเลย จะเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของกะทิเป็นหลัก เพราะกะทิ ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเสียได้ง่าย
วิธีการควบคุมคุณภาพอาหารด้วยกฎ 4 - ชั่วโมง
2 - 4 ชั่วโมง : อาหารที่ถูกทิ้งไว้ 2 - 4 ชั่วโมงแล้ว ควรเสิร์ฟให้หมด หรือถ้าเป็นวัตถุดิบก็ควรนำไปใช้ให้หมดก่อนครบ 4 ชั่วโมง
สิ่งที่สำคัญก็คือ เราไม่ควรเอาอาหาร หรือวัตถุดิบที่ตั้งทิ้งไว้เกิน 2 ชั่วโมงกลับเข้าตู้เย็นใหม่อีกครั้ง เพราะอุณหภูมิในตู้เย็นอาจจะไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่มีจำนวนมากได้ทั้งหมด ทำให้วัตถุดิบที่นำมาใช้อีกครั้ง ไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร
มากกว่า 4 ชั่วโมง : หากอาหาร หรือวัตถุดิบถูกทิ้งไว้ในโซนอันตรายเกิน 4 ชั่วโมง ควรตัดใจทิ้งมันไป เพราะในช่วงเวลานี้จุลินทรีย์ต่างๆ จะแบ่งตัวจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดอาการท้องเสียได้แล้ว
ถึงแม้ว่าอาหารจานนั้นจะยังไม่มีสี หรือกลิ่นที่เปลี่ยนไป เพราะเราไม่สามารถมองเห็นจุลินทรีย์เหล่านั้นได้ด้วยตาเปล่า แต่พวกมันก็สามารถทำให้ลูกค้าที่ทานไป ท้องเสีย หรือป่วยได้
นอกจากการจัดการอาหารของเราให้ปลอดภัยแล้ว วัตถุดิบที่ใช้ก็มีส่วนที่ทำให้อาหารของเราอายุสั้นเช่นกัน โดยเฉพาะวัตถุดิบในการหมักเนื้อสัตว์ หรือซอสที่เสียง่าย หากอยากหมักเนื้อสัตว์ เราขอแนะนำ สามเกลอพร้อมใช้ ตราคนอร์ แทนการตำสามเกลอสด รวมไปถึง ใช้ ซอสมะขามเปียกเข้มข้น ตราคนอร์ ในการทำซอส แทนการใช้มะขามเปียกสด เพื่อลดต้นทุน แถมยังเก็บไว้ได้นาน ยืดอายุอาหารได้นานขึ้นอีกด้วย
รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมวางแผนการเก็บอาหารไว้ให้ดี เพราะมาตรฐาน และความปลอดภัยของอาหารร้านของเรา มีผลต่อชื่อเสียง และการตัดสินใจของลูกค้าในการมาอุดหนุนครั้งต่อไปด้วยนะ รวมไปถึงการวางแผนการเก็บอาหารที่ดี ทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างเรา ควบคุมต้นทุนไม่ให้บานปลายได้ เพราะอาหารที่บูด สุดท้ายต้องจบลงด้วยการทิ้ง ทำให้ต้นทุนในการทำเมนูนั้นๆ จะถูกทิ้งไปด้วยนั่นเอง
ใครมีทริคการเก็บอาหาร หรือบริหารการเก็บอาหารแบบไหนบ้าง แชร์กันมาได้เลย !
วัตถุดิบปรุงอาหารยอดนิยม
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร
สิ่งที่คุณจะได้รับ:
- ฟรี หลักสูตรอบรมด้านธุรกิจอาหารและการทำอาหาร
- สูตรอาหารและเคล็ดลับที่ดีที่สุดจากเชฟทั่วโลก
- เทรนด์การทำอาหารล่าสุด