เทรนด์อาหารที่ 2 รสชาติท้องถิ่นเสิร์ฟพร้อมแนวคิด
HYPERLOCAL TASTE

ปี 2021 นี้ผู้บริโภคจะค่อยๆก้าวสู่เทรนด์ Hyper localism ที่เลือกบริโภคและสนับสนุนอาหารปลอดภัยที่ผลิตในท้องถิ่นหรือชุมชนเพื่อลด คาร์บอนฟุตปริ้นต์และสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารซึ่งสอดคล้องกับกระแสรักสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ Hyperlocalคือขั้นกว่าของการแค่เลือกเสิร์ฟเมนูแบบอาหารท้องถิ่นแต่หัวใจสําคัญคือการมุ่งคัดสรรวัตถุดิบหลักจากระยะที่ไม่ไกลเกินไปเลี่ยงการใช้วัตถุดิบนําเข้าจากต่างประเทศ เพื่อลดคาร์บอนฟุตปรินต์จากการขนส่งเน้นอุดหนุนเกษตรกร ชุมชน หรือผู้ผลิตรายย่อยในท้องถิ่น
ถ้าคุณอยากเป็นร้านอาหารแบบ Hyperlocal ต้องอย่าลืมให้ความสําคัญกับที่มาอาหารที่ปลอดภัย อย่าลืมว่าคนกินใส่ใจกับที่มาของเนื้อสัตว์และพืชผักที่นําไปปรุงเป็นอาหารว่ามันถูกเลี้ยงดูหรือปลูกขึ้นมาอย่างไร ซึ่งส่งผลต่อกลิ่น รสชาติ รสสัมผัส และสุขภาพของคนกินอย่างไร นั่นแปลว่าในหนึ่งจานที่ผู้บริโภคได้ลิ้มรสไม่ได้มีแค่รสชาติแบบท้องถิ่นแต่ยังแถมเรื่องราวของที่มาอาหาร รวมทั้งแนวคิดการสนับสนุนชุมชนและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจานด้วย หรือถ้าคุณคิดจะทําแปลงผักเล็กๆ เพื่อปลูกวัตถุดิบบางชนิดเองรอบๆร้านก็ไม่ใช่เรื่องเกินเลย
ร้านอาหารที่มีแนวคิดแบบ HYPERLOCAL ต้องการอะไรบ้าง ?
- วัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในร้านเป็นวัตถุดิบท้องถิ่นและจะยิ่งดีหากอยู่ในระยะเดินได้หรือมีวัตถุดิบที่ปลูกเองในร้านเพื่อลดคาร์บอนฟุตปริ้นต์จากการขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางเครื่องบิน
- วัตถุดิบที่เหลือต้องมีที่มาไม่เกิน 400 ไมล์หรือประมาณ 650 กิโลเมตร ตามคํานิยามสินค้าท้องถิ่นของ Farm Act หรืออย่างน้อยก็เลือกวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศ
- สนับสนุนวัตถุดิบตามฤดูกาลและพืชท้องถิ่นเน้นใช้วัตถุดิบที่ปลอดภัยและรู้ที่มาเพื่อความยั่งยืนทางอาหาร
- มีระบบจัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งในร้านเพื่อลดขยะอาหาร เช่น นําไปเป็นปุ๋ยในแปลงผักของร้าน

รสรอบโลกจากวัตถุดิบ ท้องถิ่นไทยๆ
วัตถุดิบท้องถิ่นของไทยในวันนี้ไม่เพียงเสิร์ฟรสชาติอันแสนพิเศษ แต่เรื่องราวที่มารวมไปถึงรายละเอียดในการดูแลหรือเลี้ยงดูของเกษตรกรเอง ก็น่าสนใจไม่แพ้วัตถุดิบท้องถิ่นที่นํา เข้าต่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงการนําเข้าสินค้าที่ต้องขนส่งจากแดนไกล ได้เวลาแล้วที่เราจะทําความรู้จักกับวัตถุดิบท้องถิ่นไทยๆและหยิบมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เมนูในร้าน

1.โคราชวากิวเนื้อวัวพรีเมียมจากโคเนื้อพันธุ์วากิว
ซึ่งถูกเพาะพันธ์และเลี้ยงที่โคราชจากงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จุดเด่น คือไขมันที่แทรกตัวแบบเป็นธรรมชาติอยู่ในเนื้อวัวที่ทําให้ได้ความนุ่มละลายแต่ไม่มันช่วยลดการนําเข้าเนื้อวัวที่นุ่มและมีไขมันแทรกสูง

2.ปลากุเลาตากใบราชาแห่งปลาเค็ม
ของขึ้นชื่อของจังหวัดนราธิวาส ธรรมชาติของปลากุเลาในพื้นที่นี้คือเป็นปลาที่อาศัยอยู่ใน 3 น้ำ ได้แก่ แม่น้ำสุไหงเกนติ้งของมาเลเซียแม่น้ำบางนราของนราธิวาส และ แม่น้ำสุไหง-โกลกของไทย และ มาเลเซีย ปลากุเลาที่เป็นปลาหากินตามหน้าดินจึงอุดมไปด้วยสารอาหารปลากุเลาตากใบตามธรรมชาติ จึงมีรสชาติอร่อยแตกต่างไปจากที่อื่นๆ

3.หมูดําภูพาน สกลนคร
สุกรพันธุ์สีดําที่มีความนุ่มเป็นพิเศษเลี้ยงง่าย อยู่ง่าย และสามารถเลี้ยงปล่อยในระบบเกษตรธรรมชาติ จุดเด่นคือเป็นเนื้อหมูที่ปลอดเคมี คุณภาพดี เนื้อเยอะมันน้อย และกําลังถูกพัฒนาต่อยอดให้เป็นไทยคุโรโบตะเพื่อเพิ่มมูลค่าแถมยังคลอเลสเตอรอลต่ําและมีโปรตีนสูงอีกด้วย

4.ไก่พื้นเมือง KKU ขอนแก่น
ไก่พื้นเมืองของภาคอีสานที่ถูกพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย นอกจากจะได้เนื้อนุ่มแน่นแบบไก่บ้านยังมีกรดยูริก 1.91 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ซึ่งต่ำกว่าไก่ทั่วไปคนเป็นเก๊าต์กินได้สบายใจกว่า
ผักและสมุนไพร
- ผักกาดชื่น ผักแนมรสเผ็ดร้อนคล้ายมัสตาร์ดหรือวาซาบิต้นกําเนิดเป็นผักพื้นบ้านของแถบภาคอีสานแต่เริ่มเป็นที่นิยมของร้านอาหารเพราะหาซื้อไม่ยาก ปลูกเองก็ขึ้นง่ายจะเอาไปเป็นผักแนมกับลาบต้มจิ้มน้ําพริกผัดแบบฝรั่งหรือพลิกแพลงกับเมนูอื่นได้ง่าย
- มะแขว่นดอยภูคา พืชสมุนไพรไทยในกลุ่มเดียวกับพริกเสฉวนหรือหมาล่า ให้รสเผ็ดชา กลิ่นหอมแรง และหอมนานเป็นเครื่องปรุงโดดเด่นของจังหวัดน่านที่มักนําไปปรุงกับไก่ทอด หมูทอด หรือทําน้ำพริก
ผลไม้
- ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทุเรียนสองพันธุ์ที่ติดอันดับเบสต์เซลเลอร์จนต้องจองกันข้ามปี โดดเด่นเรื่องแร่ธาตุในดินที่มีผลต่อความหวานมันของเนื้อทุเรียนมากกว่าพันธุ์อื่นๆ
- อะโวคาโต้อินทรีย์ แม่ฮ่องสอน อะโวคาโด้เนื้อแน่นหอมมันที่จริงแล้วมีหลากสายพันธุ์ที่ปลูกได้ในประเทศไทยลองสนับสนุนเกษตรกรที่เน้นการปลูกแบบอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมีเพื่อลดการนําเข้าและได้ส่งเสริมการทําสวนอินทรีย์ให้ชาวเขาในพื้นที่ห่างไกล
- ช็อกโกแลตไทยจากสวนโกโก้อินทรีย์สายพันธุ์ชุมพร ลดการนําเข้าช็อคโกแลตจากต่างประเทศด้วยการรับตรงจากแหล่งปลูกทั่วไทย ซึ่งแต่ละพื้นที่จะให้รสชาติของช็อกโกแลตที่แตกต่างกัน โกโก้ชุมพรจะมีกลิ่นหอมฟรุตตี้และฟลอรัลไม่ใช่มีแค่รสขมเหมือนช็อกโกแลตอุตสาหกรรม
เครื่องปรุงรส
- เกลือบ่อหัวแฮด เกลือสินเธาว์ขุดจากบ่อใต้แม่น้ำรอยต่อจังหวัดสกลนครและบึงกาฬรสชาติดีเค็มและหายไปไวติดอันดับเกลือที่ดีที่สุดในโลกจากงานประกวดเกลือนานาชาติเหมาะสําหรับการหมักดอง
- กะปิกุ้งตกอ่าวน้ำ กะปิจากประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ชายฝั่งจังหวัดกระบี่ เน้นทําจากเคยหรือกุ้งตัวเล็กที่อาศัยอยู่ในโขดชายทะเลแบบหินปูนเนื้อแน่นหอม สีม่วงสวยเหมาะสําหรับตําน้ำพริก
เมนูอาหารจากชุมชนที่แนะนำ
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่คุณจะได้รับ:
- ฟรี หลักสูตรอบรมด้านธุรกิจอาหารและการทำอาหาร
- สูตรอาหารและเคล็ดลับที่ดีที่สุดจากเชฟทั่วโลก
- เทรนด์การทำอาหารล่าสุด