10 เคล็ดลับเพื่ออาหารปลอดภัย
ทุกขั้นตอนของการปรุงอาหารตั้งแต่งานครัวจนถึงงานเสิร์ฟ ป้องกันเชื้อโรคเพื่ออาหารปลอดภัย
อาหารปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเชฟและผู้ประกอบการร้านอาหาร ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ ห้องอาหารในโรงแรม หรือร้านอาหารข้างทางเล็กๆ การเสิร์ฟอาหารที่สะอาดปลอดภัยจะเป็นตัวบอกว่าธุรกิจของคุณจะอยู่รอดต่อไปหรือไม่ เนื่องจากหากลูกค้าทานอาหารที่มีไม่สะอาดปลอดภัยหรือมีเชื้อโรคเจือปน จะส่งผลเสียต่อร้านทั้งทางด้านค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาของลูกค้าหากมีการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล ชื่อเสียงของร้านและส่งผลกระทบถึงรายได้ของร้านด้วย
ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์เข้าใจเป็นอย่างดีถึงปัญหามากมายเกี่ยวกับการจัดการเรื่องอาหารปลอดภัย เราจึงนำ 10 เคล็ดลับเพื่ออาหารปลอดภัยมาให้เชฟและผู้ประกอบการร้านอาหารนำไปประยุกต์ใช้ที่ร้าน พร้อมชี้ปัญหาให้ชัดและหาวิธีการจัดการปัญหาความปลอดภัยอาหารเพื่อให้คุณได้เสิร์ฟอาหารที่ปลอดภัยให้แก่ลูกค้า มาดูเคล็ดลับกันเลย
1 การตรวจรับอาหาร
- ตรวจสอบสินค้าอย่างละเอียด
- หลีกเลี่ยงการเก็บอาหารในอุณหภูมิห้อง เพื่อที่จะได้เก็บอาหารได้ยาวนานขึ้น
- ตรวจสอบภาชนะ หีบห่ออย่างละเอียด และเก็บรักษาให้ถูกวิธี
- ตรวจสอบคุณสมบัติของสินค้าทุกตัว เพื่อป้องกันสินค้าที่ผิดปกติหรือผิดประเภท
2 การเก็บรักษาและการนำออกไปใช้
- ให้จดบันทึกวันที่รับสินค้า วันที่ผลิต และวันหมดอายุไว้เสมอ
- ติดฉลากบนสินค้าและจดบันทึกจำนวน
- ใส่ใจกับการนำสินค้าไปใช้ เพื่อให้รู้ว่าสินค้าอะไรควรใช้ก่อนหรือใช้หลัง
- เก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้เหนืออาหารที่ยังไม่ปรุงเสมอ และมีภาชนะครอบเสมอ และให้ภาชนะเย็นลงทุกครั้งก่อนนำไปเก็บในตู้เย็น
- ไม่ควรวางกล่องสินค้าลงบนพื้น ควรมีฐานรองกล่องเสมอ
- ให้เก็บสินค้าในอุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียส ถึง 21 องศาเซลเซียสเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อโรค
3 การเตรียมอาหาร
- เมื่อละลายน้ำแข็งจากปลา เนื้อ หรือไก่ ควรใช้ไมโครเวฟ
- ไม่ควรปล่อยให้อาหารแช่แข็งละลายโดยไม่มีภาชนะครอบ เพื่อป้องกันสิ่งเจือปนที่อาหารอาจสัมผัส
4 การปรุงอาหาร
- ปรุงอาหารให้สุกทั่วกันทั้งหมดเพื่อฆ่าหรือลดจุลินทรีย์
- ให้ทำการบันทึกการปรุงอาหารที่ต้องปรุงในปริมาณมาก เพื่อให้การปรุงเหมือนกันทุกครั้ง
5 การคงสภาพอาหารให้เหมือนเดิม
- เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคให้หลีกเลี่ยงการเก็บอาหารสุกในอุณหภูมิห้อง โดยเก็บอาหารประเภทร้อนแบบร้อน และเก็บอาหารประเภทเย็นแบบเย็น
- ตรวจสอบอุณหภูมิในอาหารอย่างสม่ำเสมอทุกๆ 2 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการผสมกันระหว่างอาหารเพิ่งปรุงเสร็จกับอาหารที่นำออกมาขาย จำหน่าย
- ปิดอาหารเสมอเพื่อป้องกันความเสี่ยงของเชื้อโรค
6 การทำให้อาหารเย็นลง
- ค่อยๆ ลดอุณหภูมิลง โดยสองชั่วโมงแรกลดจาก 57 องศาเซลเซียส เป็น 21 องศาเซลเซียส และอีกสี่ชั่วโมงให้ลดอุณหภูมิลงจาก 21 องศาเซลเซียส เป็น 5 องศาเซลเซียส
- แบ่งปริมาณอาหาร เพื่อให้อาหารเย็นลงเร็วขึ้น
- จุ่มภาชนะที่ใส่อาหารลงในน้ำแข็งหรือวางภาชนะในช่องแช่เย็น เมื่อนำมาใช้อาหารจะได้เย็นเร็วขึ้น
7 การนำอาหารมาอุ่น
- อุ่นอาหารโดยใช้อุณหภูมิที่ 74 องศาเซลเซียสประมาณ 15 วินาที และควรอุ่นอาหารทุกๆ สองชั่วโมงเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- ตรวจสอบอาหารที่ปรุงแล้วก่อนนำมาอุ่นเพื่อดูว่ายังนำมาเสิร์ฟให้ลูกค้าได้อีกหรือไม่
8 การเสิร์ฟอาหาร
- ตรวจสอบว่าอาหารได้ทำมาเสิร์ฟแบบถูกสุขสุขลักษณะหรือไม่
- ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องครัวอย่างสม่ำเสมอ
- เสิร์ฟอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับจานนั้น ๆ
9 การจัดการอาหารที่เหลือ
- จัดการอาหารที่เหลืออย่างถูกต้องเพื่อลดการสูญเสีย
- อาหารที่ยังไม่ได้ถูกรับประทานสามารถนำมาเสิร์ฟได้ โดยนำมาจัดใส่ในภาชนะใหม่หรือนำมาปรุงเป็นอาหารประเภทอื่น เช่น เปลี่ยนขนมปังให้กลายเป็นพุดดิ้ง
10 การยกเลิกอาหาร
- หากคุณตรวจพบอาหารมีโอกาสเจอกับเจ้าเชื้อโรค ให้ตรวจสอบสาเหตุตั้งแต่อาหารที่ถูกเสิร์ฟให้แก่ลูกค้า หรือย้อนไปตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเตรียม การเก็บรักษา หรือการรับสินค้ามาแต่ต้น
- หากอาหารมีสิ่งปลอมแปลง ให้ยกเลิกการเสิร์ฟ หรือการเก็บรักษา หรือยกเลิกการปรุงทันที
- เก็บรวบรวมรายการข้อร้องเรียนต่างๆ เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารอยู่ตลอดเวลา
อย่างที่กล่าวไป อาหารปลอดภัยเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเชฟและผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องคำนึงทุกครั้งเวลาเตรียมอาหารและเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้า และหากใครต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารและวิธีการดำเนินการในครัว เรามีคอร์สเรียนฟรีออนไลน์สำหรับเชฟและผู้ประกอบการร้านอาหาร ให้เพิ่มทักษะในครัวได้อย่างเชฟมือโปร
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่คุณจะได้รับ:
- ฟรี หลักสูตรอบรมด้านธุรกิจอาหารและการทำอาหาร
- สูตรอาหารและเคล็ดลับที่ดีที่สุดจากเชฟทั่วโลก
- เทรนด์การทำอาหารล่าสุด