เทรนด์อาหารที่ 7 เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส ยกระดับสุขอนามัย เพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่า
Hygiene and Safety is the Now Normal
ปี 2020 ที่ผ่านมาอาจจะเป็นปีแห่งความเหน็ดเหนื่อยของทุกๆคน ทว่าวิกฤตโลกครั้งสําคัญนี้เป็นบทพิสูจน์ให้เห็นว่าร้านอาหารจํานวนมากในประเทศไทยยังแกร่งและมีศักยภาพพร้อมปรับตัวฝ่าฟันอุปสรรคเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่ได้ซึ่งกลยุทธ์หลักในการเดินหน้าต่อไปในปี 2021 เมื่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสยังไม่คลี่คลายดีก็คือธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อตอบสนองวิถีปกติใหม่หรือ New Normal ด้วยการยกระดับของความสะอาดและความปลอดภัยให้ขึ้นมา เป็นปัจจัยสําคัญในชีวิตในทุกวันเพื่อสร้างให้เป็น Now Normal เตรียมพร้อมรับการระบาดครั้งใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้
ในประเทศไทยเองการแพร่ระบาดของไวรัสอุบัติใหม่ ทําให้ทุกอุตสาหกรรมต้องยกระดับมาตรฐานการทําความสะอาดฆ่าเชื้อโรคและการดูแลสุขอนามัยพร้อมใจกันปรับรูปแบบการให้บริการตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางกายภาพ เช่น การจํากัดจํานวนลูกค้าที่มาใช้บริการในแต่ละรอบ การตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิลูกค้าก่อนใช้บริการ และการ ทําความสะอาดฆ่าเชื้อหลังลูกค้าเข้าใช้บริการ มีบริการโอนชําระเงินผ่านแอปพลิเคชั่นและคิวอาร์โค้ด มีบริการ เดลิเวอรี่ และอีกมากมาย ในประเทศไทยเองการแพร่ระบาดของไวรัสอุบัติใหม่ทําให้ทุกอุตสาหกรรมต้องยกระดับมาตรฐานการทําความสะอาดฆ่าเชื้อโรคและการดูแลสุขอนามัยพร้อมใจกันปรับรูปแบบการให้บริการตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางกายภาพ เช่น การจํากัดจํานวนลูกค้าที่มาใช้บริการในแต่ละรอบ การตรวจคัดกรองวัดอุณหภูมิลูกค้าก่อนใช้บริการ และการทําความสะอาดฆ่าเชื้อหลังลูกค้าเข้าใช้บริการมีบริการโอนชําระเงินผ่านแอปพลิเคชันและคิวอาร์โค้ดมีบริการเดลิเวอรี่และอีกมากมาย
ได้เวลาอัพเลเวลสุขอนามัย
เช็กลิสต์สุขอนามัยของร้านอาหารในยุคโลกหลังโควิดที่ไม่เพียงต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรคแต่ยังต้องมีมาตรการเรื่องพนักงาน และสร้างรูทีนการฆ่าเชื้อโรคที่บ่อยขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการหน้าร้านหรือบริการแบบเตลิเวอรี่ เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยที่เหนือกว่า
สะอาดให้เป็นสัดเป็นส่วน
- แยกครัวสําหรับ Dine-in และครัวสําหรับ Delivery
- แยกโซนและอุปกรณ์สําหรับการเตรียมเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลดิบที่อาจมีเชื้อโรคปะปนมา
- ทําความสะอาดอุปกรณ์ด้วยสบู่และน้ำร้อนหลังใช้งาน
สะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ทําความสะอาดโต๊ะและที่นั่งก่อนและหลังการให้บริการ
- พักเบรกทําความสะอาดเป็นรอบๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคบนพื้นผิวสัมผัสต่างๆในร้าน เช่น ที่จับประตูห้องน้ำ จุดเก็บเงิน โต๊ะ เคาน์เตอร์ ถาดรับเงิน ฯลฯ
สะอาดจนถึงพนักงาน
- พนักงานทุกคนต้องตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าทํางานในแต่ละวัน
- พนักงานต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและต้องล้างมือบ่อยๆ
- หากพนักงานป่วย ต้องมีนโยบายสําหรับ การตรวจเชื้อโควิดทันทีรวมถึงมาตรการ กักตัวหากเสี่ยงติดเชื้อ
สะอาดไม่เว้นลูกค้า
- ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าร้าน
- มีบริการเจลล้างมือที่บริเวณเข้าออกของร้าน หรือที่โต๊ะอาหาร
- ปรับผังที่นั่งในร้านให้มีสเปซระหว่างโต๊ะอย่างน้อย 6 ฟุต
- เพิ่มที่นั่งแบบ outdoor หรือเปิดหน้าต่างเพื่อให้เกิดการระบายอากาศจัดอุปกรณ์การรับประทาน 1 ชุด ต่อ 1 คน และมีวัสดุห่อหุ้มที่ถูกสุขอนามัย
สร้างสังคมไร้สัมผัสในร้านอาหาร
Contactless หรือการเลี่ยงการสัมผัสเป็นอีกหนึ่งเทรนด์ ใหญ่หลังโควิดเพราะเป็นการออกแบบบริการที่ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการสัมผัสสิ่งของต่างๆร่วมกันได้ร้านอาหารสามารถปรับตัวเพื่อสร้างระบบ Contactless ภายในร้านได้ดังนี้
Contactless Payment
จ่ายแบบไร้สัมผัสการจ่ายเงินแบบลดการสัมผัสผ่าน QR Code บัตร เครดิต Mobile Banking หรือ e-Wallet ได้เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ปี 2020 ที่ผ่านมา นอกจากผู้บริโภคกลุ่มเดิมที่มีความคุ้นชินในการใช้งานอยู่แล้วเช่น ผู้บริโภคในกลุ่มนักศึกษาและวัยทํางานตอนต้นผู้บริโภคกลุ่มใหม่โดยเฉพาะกลุ่มวัยทํางานตอนกลางก็หันมาใช้งาน Contactless Payment เพื่อการโอนเงินและชําระค่าสินค้าและบริการมากขึ้น
Contactless Ordering & Online Queue
สั่งอาหารแบบไร้สัมผัส การสั่งอาหารแบบเลี้ยงสัมผัสหรือ Contactless Ordering เป็นการใช้แพลตฟอร์มการสั่งผ่านโทรศัพท์มือถือมาแทนที่เพื่อลดการปฏิสัมพันธ์ภายในร้าน ระหว่างลูกค้ากับพนักงาน
- เพิ่มอาหารจานเดียว เพื่อลดการรับประทานอาหารร่วมกัน
- เพิ่มอาหารในรูปแบบชุดที่เสิร์ฟถึงโต๊ะ
- สําหรับร้านบุฟเฟต์หรือชาบู ออกแบบให้เป็นการเสิร์ฟแทนการเดินตักเอง
- สําหรับเมนู Take-out ออกแบบวิธีการกินที่ไม่ต้องห่อหรือจิ้มด้วยการใช้มือ
Contactless Pickup & Drive Thru
จุดรับอาหารได้สัมผัสการออกแบบจุดรับอาหารและไดร์ฟทรูที่ไม่ต้องสัมผัส กลายเป็นมาตรการสําคัญเพื่อรับมือกับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าคนจะ กินอาหารนอกบ้านน้อยลง และใช้บริการTake-out และ Delivery มากขึ้น
Contactless Recipe
เมนูไร้สัมผัสทําเมนูส่วนใหญ่ในร้านอาหารมักออกแบบมาให้กินร่วมกันลองออกแบบเมนูอาหารที่ช่วยให้ผู้บริโภคเลี่ยงหรือลดการสัมผัสได้
- ออกแบบ QR Code หรือแอพพลิเคชั่นที่ให้ลูกค้าสแกนเพื่อดูเมนู
- ติดตั้ง Kiosk หรือเครื่องให้บริการอัตโนมัติที่ผู้บริโภคสามารถดูเมนูและกดสั่งอาหารได้เองจากที่โต๊ และมีการทําความสะอาดก่อนทุกครั้ง
- ใช้ระบบ Online Queue หรือการจองคิวล่วงหน้าทางแอพพลิเคชั่นเพื่อหลีกเลี่ยงความแออัดภายในร้านและลดเวลาการยืนรอได้ด้วย
เมนูอาหารยกระดับสุขอนามัยที่แนะนำ
บทความที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่คุณจะได้รับ:
- ฟรี หลักสูตรอบรมด้านธุรกิจอาหารและการทำอาหาร
- สูตรอาหารและเคล็ดลับที่ดีที่สุดจากเชฟทั่วโลก
- เทรนด์การทำอาหารล่าสุด